วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้





1. เส้นเลือดในร่างกายมนุษย์มีความยาวรวม 62,000 ไมล์ ถ้านำมันมาเรียงต่อกันเป็นทางยาวจะได้ความยาว ถึง 2.5 เท่าของเส้นรอบวงโลก

2. The Great Barrier Reef (แนวปะการังที่ยาวทีสุดในโลกบริเวณออสเตรเลีย) เป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวกว่า 2000 กิโลเมตร

3. โอกาสที่โลกจะถูกโจมตีด้วยอุกาบาตขนาดใหญ่ อยู่ที่ 9300 ปีต่อครั้ง


4. ดาวนิวตรอนขนาดเท่าหัวแม่มือมีน้ำหนักกว่า 100 ล้านตัน

5. พายุเฮอริเคนหนึ่งลูกผลิตพลังงานเท่ากับระเบิดขนาด 1 เมกะตันจำนวน 8000 ลูก

6. คาดว่ามีพยาธิปากขอ ซื่งดูดเลือดเป็นอาหารอยู่ในร่างกายมนุษย์โลกเรา 700 ล้านคน

7. Fred Rompelberg คือผู้ขี่จักรยานด้วยความเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 166.94 ไมล์ต่อชั่วโมง

8. มนุษย์เราสามารถคิดค้นแสงเลเซอร์ที่มีความสว่างกว่าแสงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า

9. 65% ของผู้ป่วยออทิสติคส์ เป็นคนถนัดซ้าย

10. Finnish pine tree (ต้นสนชนิดหนึ่งในฟินแลนด์) มีความยาวของรากแต่ละต้นรวมแล้วกว่า 30 ไมล์

11. จำนวนเกลือที่อยู่ในน้ำทะเลทั่วโลกเรา สามารถปกคลุมพื้นผิวทวีปทั่วโลกได้หนากว่า 500 ฟุต

12. กลุ่มแก๊สระหว่างหมู่ดาวในราศีธนู มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นับหมื่นล้านล้านลิตร

13. หมีขั้วโลกสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชัวโมง และกระโดดได้สูงกว่า 6 ฟุต

14. มนุษย์และปลาโลมาสืบสายพันธ์เดียวกันมาตั้งแต่ 60 - 65 ล้านปีก่อน

15. กล้อง infared จับภาพหมีขั้วโลกได้ยากมาก เนื่องจากคุณสมบัติของขนของมัน

16. เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปี คนเราจะกินสัตว์จำพวกเห็บลิ้นไร โดยไม่ได้ตั้งใจไป 430 ตัวต่อคนต่อปี

17. รากของต้น Rye(ข้าวชนิดหนึ่งใช้หมักสุรา) สามารถแผ่ขยายไปได้ถึง 400 ไมล์

18. อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพุธสูงกว่า 430 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน แต่ลดลงต่ำกว่า ติดลบ 180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน

19. ภายใน 24 ชั่วโมง ต้นโอ๊กขนาดใหญ่ขับน้ำ(ในรูปของไอน้ำ)ออกมา 10 - 25 แกลลอน

20. ผีเสื้อรับรู้รสด้วยขาหลังของมัน โดยประสาทการรับรู้ทำงานโดยการสัมผัส ทำให้มันรู้ว่าใบไม้และดอกไม้ที่มันสัมผัส มีรสชาติอย่างไรและกินได้หรือไม่

สร้างโดย:
พัช ศรีพุทธา ม.6/4 เลขที่ 17 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

 
 
 
ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์(science) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนมีระเบียบแบบแผน
ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ จะมี 2 ส่วน
  1. วิทยาศาสตร์หมายถึงความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
สิ่งต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรในอนาคต
มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อย่างไรการการพยายามหาคำตอบจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ นำไปสู่ข้อสรุปเป็นข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด ทฤษฎี หลักการ และกฎต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์
2. วิทยาศาสตร์หมายถึง กระบวนการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์
องค์ประกอบของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
1. กระบวนการ (process) หมายถึงการกระทำคนซึ่งอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การกำหนดปัญหา และการตรวจสอบสมมุติฐาน
2. ความรู้ (knowledge) ได้แก้ผลจากการกระทำของคน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล ข้อเท็จจริง ทฤษฎี และกฎ
กระบวนการหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์
กระบวนการหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. "ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)"
หมายถึงวิธีการทำงานอย่างมีระบบ ซึ่งเริ่มจาก

1 การสังเกต(ทำให้เกิดความสงสัยและเป็นปัญหาเกิดขึ้น)
2 กำหนดปัญหาให้ชัดเจน
3 ตั้งสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล
4. ออกแบบการทดลองและทำการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
5 สรุปผลการทดลองหลังจากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของผลการทดลองที่ได้อย่างมีเหตุผล จะเห็นว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอนนะจ้ะ
สังเกต-- ระบุปัญหา---ตั้งสมมุติฐาน---ทดลอง--สรุปผล--
ในขั้นตอนเหล่านี้จะต้องมีการ "ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล" อยู่เสมอๆ
2. "ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"
เป็นส่วนที่สอง หมายถึงความชำนาญและประสบการณ์ในการใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหา ทักษะที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและสรุปเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยทักษะพื้นฐานที่สำคัญดังนี้
ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการคำนวณ ทักษะการจำแนกและจัดหมวดหมู่
ทักษะการหาความสัมพันธ์ ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการทำนาย
นี่ล่ะคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ล่ะ ที่กล่าวมานั้นเป็นทักษะที่ใช้ให้การคิดเพื่อแก้ปัญหาสรุปผล แต่ในขั้นการออกแบบการทดลอง เพื่อทำการตรวจสอบสมมุติฐานยังต้องอาศัยทักษะกระบวนการขั้นผสม..ที่ซับซ้อนขึ้นอีก(เล็กน้อย) ได้แก่
ทักษะการตั้งสมมุติฐาน(ต้องตั้งเก่งด้วย)
ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (เพื่อให้ผลทดลองออกมาน่าเชื่อถือ)
ทักษะการกำหนดเชิงปฏิบัติการ (คือการกำหนดขั้นตอนวิธีการทดลอง)
ทักษะการทดลอง (ใช้อุปกรณ์เป็นเปล่า..แถวนั้น)
ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป(ต้องดูผลการทดลองแล้วแปลความหมายเป็นด้วย ไม่ใช่เอาไปไบ้หวย อิอิ)
3. ส่วนที่ 3 (สุดท้าย) ของกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์คือ "เจตคติทางวิทยาศาสตร์" หมายถึง
คุณลักษณะของบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมของตนออกมา ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จของงานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากเลย พูดง่ายๆ คือนิสัยส่วนตัวของคนนั่นล่ะ ซึ่งลักษณะที่สำคัญได้แก่
การเป็นคนช่างสังเกต(สำคัญมากข้อนี้…หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ในการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างละเอียด แต่ต้องระวังความปลอดภัยด้วยนะ)
เป็นคนช่างสงสัย เป็นคนมีเหตุผล เป็นคนมีความพยายามและอดทน (ลองไปอ่านประวัตินักวิทยาศาสตร์ดูในห้องความรู้จะเห็นว่าพวกเขาต้องพยายามกันมากกว่าจะค้นพบ) เป็นคนที่มีความพยายามและริเริ่ม
เป็นคนทำงานอย่างมีระเบียบระบบเป็นขั้นตอนตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น